ค้นหาบล็อกนี้

วันอังคารที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

แนะนำพระตำหนักทับแก้ว

พระตำหนักทับแก้ว เป็นอาคารตึกสองชั้น ในพระราชวังสนามจันทร์ 
เคยเป็นที่ประทับในฤดูหนาว ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
 รัชกาลที่ 6 ภายในอาคารมีเตาผิงและหลังคา มีปล่องไฟตามแบบตะวันต
ก เหนือเตาผิงมีภาพฝีพระหัตถ์สีถ่านรูปพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ในระหว่างที่มีการซ้อมรบเสือป่า ทับแก้ว เป็นที่ตั้งกองบัญชาการเสือป่า
กองเสนาน้อยราบเบารักษาพระองค์
อนึ่งที่ดินบริเวณเบื้องหลังทับแก้วประมาณ 450 ไร่ ได้กลายเป็น
 ดำเนินการจัดแสดงเป็น "พิพิธภัณฑ์คณะฟุตบอลแห่งสยาม" 
เพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า 
ในพระราชกรณียกิจด้านกีฬาฟุตบอลของชาติ

วันอังคารที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

บทประพันธ์ที่จารึกหน้าอนุสาวรีย์ย่าเหล


๏ อนุสาวรีย์นี้เตือนจิตร์ให้กูคิดรำพึงถึงสหาย
โอ้อาไลยใจจู่อยู่ไม่วายกูเจ็บคล้ายศรศักดิ์ปักอุรา
ยากที่ใครเขาจะเห็นหัวอกกูเพราะเขาดูเพื่อนเห็นแต่เป็นหมา
เขาดูแต่เปลือกนอกแห่งกายาไม่เห็นฦกตรึกตราถึงดวงใจ
เพื่อนเป็นมิตร์ชิดกูอยู่เนืองนิตย์จะหามิตร์เหมือนเจ้าที่ไหนได้
ทุกทิวาราตรีไม่มีไกลกูไปไหนเจ้าเคยเป็นเพื่อนทาง
ช่างจงรักภักดีไม่มีหย่อนจะนั่งนอนยืนเดินไม่เหินห่าง
ถึงยามกินเคยกินกับกูพลางถึงยามนอน ๆ ข้างไม่ห่างไกล
อันตัวเพื่อนเหมือนมนุษสุจริตจะผิดอยู่แต่เพียงพูดไม่ได้
แต่เมื่อกูใคร่รู้ความในใจกูมองดูรู้ได้ในดวงตา
โอ้อกกูดูเพื่อนอยู่หรัด ๆเพื่อนมาพลัดพรากไปไม่เห็นหน้า
กูเผลอ ๆ ก็เชง้อเผื่อเพื่อนมาเสียงกุกกักก็ผวาตั้งตามอง
อันความตายเป็นธรรมดาโลกกูอยากตัดความโศรกกระมลหมอง
นี่เพื่อนตายเพราะผู้ร้ายมันมุ่งปองเอาปืนจ้องสังหารผลาญชีวี
เพื่อนมอดม้วยด้วยมือทุรชนเอารูปคนสรวมใส่คลุมใจผี
เป็นคนจริงฤๅจะปราศซึ่งปรานีนี่รากษสอัปปรีปราศเมตตา
มันยิงเพื่อนเหมือนกูพลอยถูกด้วยแทบจะม้วยชีวังสิ้นสังขาร์
จะหาเพื่อนเหมือนเจ้าที่ไหนมาช้ำอุราอาไลยไม่วายวัน
เมื่อยามมีชีวิตร์สนิทใจยามบรรไลยลับล่วงดวงใจสั่น
ด้วยอำนาจจงรักภักดีนั้นขอให้เพื่อนขึ้นสวรรค์สำราญรมย์
ถึงจะมีหมาอื่นมาแทนที่กูก็รักเพื่อนนี้เป็นปฐม
ที่ไหนเล่าจะสนิทและชิดชมที่ไหนเล่าจะนิยมเท่าเพื่อนรัก
ถึงแม้จะไม่มีรูปนี้ไว้รูปเพื่อนฝังดวงใจกูตระหนัก
แต่รูปนี้ไว้เป็นพยานรักให้ประจักษ์แก่คนผู้ไมตรี
เพื่อนเป็นเยี่ยงอย่างมิตร์สนิทยิ่งภักดีจริงต่อกูอยู่เต็มที่
แม้คนใดเป็นได้อย่างเพื่อนนี้ก็ควรนับว่าดีที่สุดเอย

ย่าเหล


ย่าเหลเป็นสุนัขพันทาง ขนปุย หางเป็นพวง สีขาว มีแต้มดำ หูตก 
เกิดในเรือนจำจังหวัดนครปฐม เดิมเป็นสุนัขของหลวงไชยราษฎร์รักษา
 (โพ เคหะนันทน์) ตำแหน่งพะทำมะรงหรือผู้ควบคุมนักโทษ (ภายหลัง
ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น พระพุทธเกษตรานุรักษ์) เมื่อครั้ง
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ยังดำรงพระยศเป็น
พระบรมโอรสาธิราชฯ ได้เสด็จฯ ไปตรวจเรือนจำจังหวัดนครปฐม 
และทอดพระเนตรเห็นสุนัขตัวนี้ และตรัสชมว่าน่าเอ็นดู หลวงชัยอาญา
จึงน้อมเกล้าฯ ถวาย พระองค์จึงทรงรับมาเลี้ยง และพระราชทานนามว่า
 "ย่าเหล"
สำหรับชื่อย่าเหลนั้น พระองค์ทรงตั้งจากชื่อตัวละครเอก เอมิล ยาร์เลต์
 (Emile Jarlet) จากบทละครฝรั่งเศสเรื่อง "My friend Jarlet" 
ซึ่งได้ทรงพระราชนิพนธ์แปลเป็นบทละครภาษาไทย ชื่อ "มิตรแท้"
 และยังทรงพระราชนิพนธ์ละครพูดเรื่อง "เพื่อนตาย" ตามเค้าโครงภาษาอังกฤษด้วย
......................................................................................................

สถานีรถไไฟพระราชวังสนามจันทร์

Click on the image for full size

Click on the image for full size

ปัจจุบันได้ย้ายศาลาสถานีรถไฟพระราชวังสนามจันทร์
ไปไว้ยังสถานีรถไฟหัวหิน จนถึงปัจจุบัน

งาน 100 ปี พระราชวังสนามจันทร์












การเดินทางมายังพระราชวังสนามจันทร์

1.รถยนต์ส่วนตัว 
จากกรุงเทพฯ ใช้ถนนปิ่นเกล้า-นครชัยศรี
ไปบรรจบกับทางหลวงหมายเลข 4 ถึง จ.นครปฐม แยกขวาเข้า พระราชวัง
2.โดยสารสาธารณะ
- จากสายใต้ใหม่ นั่งรถปรับอากาศไปดำเนินสะดวกชั้น 2 (ป2) (สาย 78
รถน้ำเงินคาดส้ม) ซึ่งเป็นรถที่วิ่งผ่าน
พระราชวังสนามจันทร์ลงแยกสนามจันทร์ ค่ารถ 36 บาทครับ ใช้เวลา
ประมาณ 1 ชั่วโมง - อีกวิธีขึ้นรถตู้ไปทับ แก้ว(ม.ศิลปากร สนามจันทร์)
จากปิ่นเกล้า คิวรถตู้จอดอยู่ในซอยข้างศาลพระพรหมณ์ตรงใกล้เซ็นทรัล
ปิ่นเกล้า เดินเข้าไปในซอย ข้ามสะพานข้ามคลอง มองไปด้านซ้ายมือ
จะมีคิวรถตู้ ค่ารถ 40 บาท บอกคนขับว่าลงแยก สนามจันทร์และ
จากแยกสนามจันทร์ก็ข้ามฝากไป ม.ศิลปากร เดินตรงเข้าถนนราชมรรคาใน
สัก 200 เมตร ก็ถึงจุดขายตั๋วเข้าชม
- ขากลับขึ้นรถดำเนินป.2(สาย78) ได้ที่แยกสนามจันทร์กลับเข้ากทมได้เลย
(ไม่ต้องข้ามถนน) หรือเดินขึ้นไป อีกนิด ไปทางด้านประตูใหญ่ ม.ศิลปากร
 คิวรถตู้ไปปิ่นเกล้าจอดอยู่ตรงก่อนถึงป้ายรถเมล์หน้ามหาวิทยาลัย ศิลปากร
 นอกจาก นั้นยังมีอีกคิวไปอนุสาวรีชัย-หมอชิด อยู่ฝั่งตรงข้าม มหาวิทยาลัย

การเข้าชมพระราชวังสนามจันทร์

ข้อมูลการเข้าชมเปิดให้เข้าชมเวลา 9:00-16:00น. ปิดขายบัตรเวลา 15:30น.

คนไทยผู้ใหญ่ 30บาท
เด็ก 10 บาท 
ชาวต่างประเทศ 50 บาท 

ทุกวันเสาร์ และวันอาทิตย์ 
มีการแสดงบทละครในพระราชนิพนธ์
เรื่องวิวาหพระสมุทร ให้ชมวันละ 2รอบ เวลา 11:00น. และเวลา 14:00น.
โทร 034 2442 36-7 fax.034 244 235 (โปรดแต่งกายสุภาพ)

พระราชวังสนามจันทร์ 360 องศา

พระราชวังสนามจันทร์ 360 องศา

วันอังคารที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

แนะนำหมู่พระที่นั่ง

พระที่นั่งพิมานปฐม เป็นพระที่นั่งองค์แรก สร้างในปีพุทธศักราช ๒๔๕๐ มีลักษณะเป็นอาคารก่ออิฐถือปูน ๒ ชั้น มีการออกแบบและตกแต่งด้วยระเบียงที่สลักลวดลายเป็นลายขนมปังขิงอย่างสวยงามโดยรอบ สร้างโดยพระยาวิศุกรรมศิลป์ประสิทธิ์ หรือ น้อย  ศิลปี ใช้เป็นที่รับรองพระราชอาคันตุกะ และแขกบ้านแขกเมือง
 
พระที่นั่งอภิรมย์ฤดี เป้นพรที่นั่งที่สร้างในปีพุทธศักราช ๒๔๖๔ เป็นอาคาร ๒ ชั้น มีระเบียงแบบเดียวกันกับพระที่นั่งพิมานปฐม เป็นเขตพระราชฐานฝ่ายใน มีพระชายาเป็นผู้ดูแล
 พระที่นั่งวัชรีรมยา สร้างในปีพุทธศักราช ๒๔๖๐ เป็นพระที่นั่งที่มีลักษณะคล้ายกับอาคารทรงไทยประยุกต์ เชื่อมต่อกับพระที่นั่งพิมานปฐม และพระที่นั่งสามัคคีมุขมาตย์ ใช้ในการทรงพระอักษร และประทับชั่วคราว
 
พระที่นั่งสามัคคีมุขมาตย์ สร้างในปีพุทธศักราช ๒๔๕๗ มีลักษณะเป็นอาคารทรงไทยโถงใหญ่ ๑ ชั้น ใช้ในงานสโมสรสันนิบาตร ประชุมกองเสือป่า และแสดงโขน ละคร ชาวบ้านมักเรียกว่า โรงโขน

ประวัติ



     พระราชวังสนามจันทร์ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกขององค์พระปฐมเจดีย์ ๑ กิโลเมตร ตั้งอยู่บนพื้นที่ที่เรียกว่าหมู่บ้านเนินปราสาท ซึ่งสันนิษฐานว่า แต่เดิมนั้นพื้นที่บริเวณหมู่บ้านเนินปราสาทนั้นเคยเป็นที่ตั้งของพระราชวังของพระมหากษัตริย์ในสมัยโบราณ เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีลักษณะเป็นเนิน และมีคูน้ำล้อมรอบ โดยบริเวณใกล้ๆกับเนินปราสาทนี้จะมีสระน้ำอยู่แห่งหนึ่งมีชื่อเรียกขานกันว่า สระน้ำจันทร์ ซึ่งในอดีตนั้นสันนิษฐานว่าเคยเป็นบ่อน้ำที่ใช้ในการทำพิธีดื่มน้ำสัตยาบรรณ ซึ่งภายหลังรัชกาลที่ ๖ ได้ทรงนำชื่อสระน้ำจันทร์มาตั้งเป็นชื่อของพระราชวังสนามจันทร์แห่งนี้ โดยในปัจจุบันสระน้ำจันทร์มีชื่อเรียกว่า สระบัวนั่นเอง
     โดยพระราชวังสนามจันทร์นั้นพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ทรงมีพระราชดำริที่จะสร้างพระราชวังขึ้นเพื่อใช้ในการแปรพระราชฐานมาประทับ ณ จังหวัดนครปฐม เพื่อมาสักการะองค์พระปฐมเจดีย์ และดูแลงานด้านการบูรณะองค์พระปฐมเจดีย์ โดยได้ทรงเลือกพื้นที่บริเวณหมู่บ้านเนินปราสาทในการก่อสร้างพระราชวัง โดยได้พื้นที่ทั้งหมด ๘๘๘ ไร่ ๓ งาน ๒๔ ตารางวา เริ่มทำการก่อสร้างในปีพุทธศักราช ๒๔๕๐ ออกแบบและควบคุมการก่อสร้างโดย พระยาวิศุกรรมศิลป์ประสิทธิ์ หรือ น้อย  ศิลปี
     นอกจากพระราชวังสนามจันทร์จะใช้เป็นที่ประทับในการแปรพระราชฐานแล้วยังทรงใช้เป็นที่มั่นและที่หมายในการเป็นเมืองหลวงแห่งที่ ๒ ของประเทศ เพื่อรองรับในกรณีที่อาจจะเกิดวิกฤตการณ์ต่างๆขึ้นกับประเทศได้ และใช้เป็นที่ตั้งของกองบัญชาการเสือป่าอีกด้วย
     ในช่วงปลายรัชสมัยของรัชกาลที่ ๖ ตั้นรัชกาลที่ ๗ พระราชวังสนามจันทร์ได้อยู่ในการดูแลของศาลากลางจังหวัดนครปฐม และภายหลังได้มีการน้อมเกล้าฯ ถวายคืนพระที่นั่งและพระตำหนักให้กับสำนักพระราชวังเป็นผู้ดูแล เมื่อวันที่ ๑ ธันวาคม ปีพุทธศักราช ๒๕๔๖